[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวการศึกษา : มติชนมติครู : การศึกษา..สู่ฉากทัศน์ใหม่ ‘เรียนรู้’ รูปแบบ ‘ผสมผสาน’

https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2022/01/thumbnail_Aksorn-02-728x520.jpg" />

 

เข้าสู่ศักราชใหม่ ความคาดหวังจะหลุดพ้น เพื่อเริ่มต้นให้กับความสดใสหลังชีวิตผ่านพ้นไปกับปีที่หนักหนามาพอสมควร ความบอบช้ำจากโรคโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของภาคการศึกษา ทิ้งไว้ทั้งปัญหา และโอกาส หากมองดูแล้วก็ยังไม่มีใครสามารถฟันธงได้ ว่าสถานการณ์นี้จะจบลงเมื่อไหร่ งานนี้ภาคการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร อักษร เอ็ดดูเคชั่น ขอพาย้อนไปดูเส้นทางการศึกษาตลอดปีที่ผ่านมา

ภาพรวมสถานการณ์การศึกษาไทย ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดย บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) แจงถึงตัวเลขสถิติทางด้านการศึกษาหลายประเด็นที่น่าสนใจ ตั้งแต่การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลให้กับกระทรวงศึกษาธิการ สูงสุดในรอบ 22 ปี คิดเป็นร้อยละ 11.5-25.7 ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด สวนทางกับผลคะแนนจากโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนตามมาตรฐานสากล หรือ PISA ในปี พ.ศ.2561 ที่นักเรียนไทยยังทำได้ไม่ดีนัก โดยมีคะแนนด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ อยู่ในลำดับที่ 68, 59 และ 55 ตามลำดับจาก 79 ประเทศที่เข้าร่วมการประเมิน

 

นั่นก็อาจแปลความได้ว่า รัฐบาลตระหนัก และให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับ “ระบบการศึกษาไทย” ที่มีความท้าทายในหลายประเด็น ตั้งแต่เรื่องของความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา และแหล่งความรู้ที่มีคุณภาพ จำนวนนักเรียนที่ลดลง ค่านิยมต่อการศึกษา รวมไปถึงหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะแห่งอนาคต ที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเอง และตลาดแรงงาน

https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2022/01/thumbnail_Aksorn-01.jpg" srcset="https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2022/01/thumbnail_Aksorn-01.jpg 1280w, https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2022/01/thumbnail_Aksorn-01-300x225.jpg 300w, https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2022/01/thumbnail_Aksorn-01-1024x768.jpg 1024w, https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2022/01/thumbnail_Aksorn-01-768x576.jpg 768w, https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2022/01/thumbnail_Aksorn-01-728x546.jpg 728w, https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2022/01/thumbnail_Aksorn-01-560x420.jpg 560w" style="box-sizing: border-box; border: 0px; max-width: 100%; height: auto; margin: 0px; display: inline-block;" width="1280" />

สิ่งเหล่านี้สร้างทั้งความกดดัน และเกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ในแวดวงการศึกษา ทั้งรูปแบบ และแหล่งการเรียนรู้ แม้คนไทยจะหันมาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น แต่จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ.2563 ชี้ให้เห็นว่าคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงความบันเทิง และการสื่อสารทางไกลเป็นหลัก มีเพียงร้อยละ 31.6 ที่ใช้เพื่อการติดตามข่าวสารความรู้ และร้อยละ 7.4 ใช้เพื่อการเรียนผ่านออนไลน์

นอกจากนั้น ยังเกิดกระแสจากบริษัทยักษ์ใหญ่ชื่อดังข้ามชาติหลายแห่งอย่าง Google Apple Amazon ที่ประกาศนโยบายการรับสมัครคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน โดยมุ่งพิจารณาจากทักษะ และประสบการณ์การทำงานมากกว่าการใช้วุฒิการศึกษา หรือใบปริญญาบัตร เกิดสัญญาณการเปลี่ยนแปลง และความตื่นตัว ในการตั้งคำถามถึงความสำคัญ และคุณค่าของวุฒิการศึกษา รวมไปถึงชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาด้วย

ทั้งหมดนี้ สร้างกระบวนการการเรียนรู้ และสื่อในรูปแบบใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ขยายขีดความสามารถให้กับทั้งผู้เรียน และผู้สอน ส่งเสริมการ Upskill และ Reskill รวมไปถึงการเรียนรู้ที่ตรงกับความสนใจ และความสามารถของผู้เรียนจนเกิดเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การปรับรูปแบบการเรียนรู้ไปสู่การเรียนแบบผสมผสาน ความปั่นป่วนของการพยายามสร้างความสมดุลย์ และปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเลื่อนการเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ถึง 2 ครั้ง แต่ดูจากสถานการณ์ที่ยากจะควบคุม จึงต้องคิดหารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อ พร้อมขึ้นนโยบายให้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศ ปรับเปลี่ยนการสอนให้อยู่ในรูปแบบผสมผสาน หรือ Blended Learning ระหว่างการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกล ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ และรูปแบบการเรียนในห้องเรียน ภายใต้การเรียนรู้ในรูปแบบ 5 on ได้แก่ on site, on air (DLTV), on demand, online และ on hand

ขณะที่ หลักสูตรฐานสมรรถนะ นำร่องทดลองใช้ ป.1-ป.3 เกิดกระแสวิพากษ์ไปทั่ว เมื่อกระทรวงศึกษาธิการกำหนดแผนปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่มีความแตกต่างจากหลักสูตรเดิมในสาระสำคัญหลายตัว อาทิ ลดเวลาเรียน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ลงในบางระดับชั้น ปลดล็อกตัวชี้วัดการเรียนรู้ ปรับปรุงฐานการเรียนรู้สมรรถนะใหม่ โดยมีแผนใช้จริงในปีการศึกษา 2565 กับโรงเรียนประถมศึกษาที่มีความพร้อม และวางกรอบการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะครอบคลุมทุกโรงเรียน ทั้งในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในปีการศึกษา 2567 นำร่องทดลองใช้ในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

แต่เกิดกระแสถึงความไม่พร้อม ทั้งในแวดวงนักการศึกษา นักวิชาการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากเห็นว่าหลักสูตรยังขาดความชัดเจน และขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ปฏิบัติงานจริง จนต้องกลับมาทบทวน ชะลอ และเลื่อนการนำร่องทดลองออกไป

ปิดท้ายฉากทัศน์ใหม่ และสัญญาณของการเปลี่ยนแปลง เพราะโลกหมุนไป การศึกษาไทยต้องหมุนตาม ฉากทัศน์หน้าใหม่ของการศึกษา เราฝันเห็นเด็กไทยมุ่งไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Never-ending learning) เรียนรู้จากที่ใด เวลาใดก็ได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ได้เรียน และค้นพบในสิ่งที่ตนเองสนใจ จนเกิดเป็นทักษะที่ต้องการ และมีตลาดแรงงานรองรับ

เพราะท้ายที่สุดแล้ว ความสำคัญของการผสมผสานการเรียนรู้ไปพร้อมกับการใช้ชีวิตเป้าหมายทางไกล ก็คือเพื่อให้เด็กๆ ของเราวันนี้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ ที่เรียกได้ว่า “พลเมืองของโลก” อย่างแท้จริง






หนังสอพิมพ์มติชนออนไลน์


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ทุกคนในองค์กร
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา:

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง